ประวัติ ความเป็นมาของผ้าไหมแพรวากาฬสินธ์
ผ้าแพรวา เป็นชื่อเฉพาะที่เรียกผ้าชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือห่มสไบเฉียงของชาวผู้ไทย ซึ่งใช้ในงานเทศกาล บุญประเพณีหรืองานสำคัญอื่นๆ เป็นผ้าที่ทอด้วยมือ แพร หมายถึง ผ้า วา หมายถึงความยาวของผ้า 1 วา คำว่า แพรวา จึงมีความหมายว่า ผ้าที่มีความยาวประมาณ 1 วา
ผ้าแพรวา เป็นชื่อเฉพาะที่เรียกผ้าชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือห่มสไบเฉียงของชาวผู้ไทย ซึ่งใช้ในงานเทศกาล บุญประเพณีหรืองานสำคัญอื่นๆ เป็นผ้าที่ทอด้วยมือ แพร หมายถึง ผ้า วา หมายถึงความยาวของผ้า 1 วา คำว่า แพรวา จึงมีความหมายว่า ผ้าที่มีความยาวประมาณ 1 วา
ชาวผู้ไทย เป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากประเทศจีนตอนใต้ ข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่แถบเทือกเขาภูพาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเป็นส่วนใหญ่ โดยยังรักษาวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย และการทอผ้าไหม ผู้หญิงจะถูกฝึกทอผ้าแพร วาตั้งแต่อายุ 9 - 15 ปี ชาวผู้ไทยที่ทอผ้าแพรวาส่วนใหญ่จะอยู่ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีภูมิปัญญาในการทอผ้าไหมด้วยการเก็บลาย หรือเก็บขิดแบบจกที่มีลวดลายโดดเด่นที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและ พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ประกอบการเลือกใช้เส้นไหมน้อย หรือไหมยอดที่มีความเลื่อมมัน ผ้าไหมแพรวาถือว่าเป็นของล้ำค่าและมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวผู้ไทย จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างแท้จริง ดังคำขวัญจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ว่า
เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวาผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี
คำนิยาม
ผ้าแพรวา เป็นชื่อเฉพาะที่ชาวอีสานทั่วไปเรียกผ้าชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือ ห่มสไบเฉียงของชาวผู้ไทย ซึ่งใช้ในโอกาสที่มีงานเทศกาล บุญประเพณีหรืองานสำคัญอื่นๆ
ผ้าแพรวา มีความหมายตามรูปศัพท์ ซึ่งเป็นคำผสมระหว่างคำมูล 3 คำ คือ
ผ้า หมาย ถึง วัสดุอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเป็นผืน ได้จากการเอาเส้นใยของ ฝ้าย ไหม ป่าน ปอ ฯลฯ ซึ่งผ่านกรรมวิธีหลายอย่างเป็นต้นว่า การปั่นเส้นใยทำเป็นเส้นด้าย ย้อมสี ฟอกสี การฟั่นเกลียว การเคลือบผิว ฯลฯ แล้วนำเข้ามาทอเข้าด้วยกันให้เป็นผืนมีขนาดความกว้าง ความยาวแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้สอยประโยชน์ เมื่อทอเสร็จเป็นผืนแล้ว จะเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตามชื่อวัสดุที่นำมาใช้ถักทอ เช่น ถ้าทอจากใยฝ้าย เรียกว่า ผ้าฝ้าย หรือถ้าทอจาก เส้นใยไหม เรียกว่า ผ้าไหม
แพร หรือ แพ(ภาษา อีสาน) หมายถึง ผ้าที่ยังไม่ได้แปรรูปให้เป็นเสื้อ หรือซ่ง (โส่งหรือกางเกง) คือยังมีลักษณะเป็นผืนผ้าที่เสร็จจากการทอมักเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตาม ลักษณะวัสดุที่ใช้ เช่น แพรไหม แพรฝ้าย แพรอีโป้ เป็นต้น
วา หมายถึง มาตราวัดความยาวอย่างหนึ่ง ได้จากการกางแขนทั้งสองแขนออกไปจนสุดแล้วทาบกับสิ่งที่ต้องการวัดขนาดความ ยาว ด้วยการทาบลงไปให้แขนตรงเป็นเส้นขนาน ทำอย่างนี้แต่ละครั้งเรียกว่า 1 วา (ต่อมาปรับปรุงมาตราวัดนี้ใหม่ว่า 1วา มีขนาดเท่ากับ 4 ศอก)
ดังนั้นคำว่า ผ้าแพรวา จึงมีความหมายรวมกันว่า ผ้าทอเป็นผืนที่มีขนาดความยาว 1 วา หรือ 1 ช่วงแขน
ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ หมาย ถึง ผ้าไหมที่ทอประดิษฐ์ลวดลายด้วยการขิด และการจก ใช้เส้นไหมตีเกลียวเป็นทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง รวมทั้งมีเส้นไหมเพิ่มพิเศษในการทำให้เกิดลวดลายตามกรรมวิธีที่ปราณีตของชาว ผู้ไทย ที่เป็นมรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสืบกันต่อมา
ผ้าแพรวา เป็นชื่อเฉพาะที่ชาวอีสานทั่วไปเรียกผ้าชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือ ห่มสไบเฉียงของชาวผู้ไทย ซึ่งใช้ในโอกาสที่มีงานเทศกาล บุญประเพณีหรืองานสำคัญอื่นๆ
ผ้าแพรวา มีความหมายตามรูปศัพท์ ซึ่งเป็นคำผสมระหว่างคำมูล 3 คำ คือ
ผ้า หมาย ถึง วัสดุอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเป็นผืน ได้จากการเอาเส้นใยของ ฝ้าย ไหม ป่าน ปอ ฯลฯ ซึ่งผ่านกรรมวิธีหลายอย่างเป็นต้นว่า การปั่นเส้นใยทำเป็นเส้นด้าย ย้อมสี ฟอกสี การฟั่นเกลียว การเคลือบผิว ฯลฯ แล้วนำเข้ามาทอเข้าด้วยกันให้เป็นผืนมีขนาดความกว้าง ความยาวแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้สอยประโยชน์ เมื่อทอเสร็จเป็นผืนแล้ว จะเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตามชื่อวัสดุที่นำมาใช้ถักทอ เช่น ถ้าทอจากใยฝ้าย เรียกว่า ผ้าฝ้าย หรือถ้าทอจาก เส้นใยไหม เรียกว่า ผ้าไหม
แพร หรือ แพ(ภาษา อีสาน) หมายถึง ผ้าที่ยังไม่ได้แปรรูปให้เป็นเสื้อ หรือซ่ง (โส่งหรือกางเกง) คือยังมีลักษณะเป็นผืนผ้าที่เสร็จจากการทอมักเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตาม ลักษณะวัสดุที่ใช้ เช่น แพรไหม แพรฝ้าย แพรอีโป้ เป็นต้น
วา หมายถึง มาตราวัดความยาวอย่างหนึ่ง ได้จากการกางแขนทั้งสองแขนออกไปจนสุดแล้วทาบกับสิ่งที่ต้องการวัดขนาดความ ยาว ด้วยการทาบลงไปให้แขนตรงเป็นเส้นขนาน ทำอย่างนี้แต่ละครั้งเรียกว่า 1 วา (ต่อมาปรับปรุงมาตราวัดนี้ใหม่ว่า 1วา มีขนาดเท่ากับ 4 ศอก)
ดังนั้นคำว่า ผ้าแพรวา จึงมีความหมายรวมกันว่า ผ้าทอเป็นผืนที่มีขนาดความยาว 1 วา หรือ 1 ช่วงแขน
ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ หมาย ถึง ผ้าไหมที่ทอประดิษฐ์ลวดลายด้วยการขิด และการจก ใช้เส้นไหมตีเกลียวเป็นทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง รวมทั้งมีเส้นไหมเพิ่มพิเศษในการทำให้เกิดลวดลายตามกรรมวิธีที่ปราณีตของชาว ผู้ไทย ที่เป็นมรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสืบกันต่อมา
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2520 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมพสนิกรในอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวผู้ไทยแต่งชุดพื้นเมือง ห่มสไบเฉียงแพรวาสีแดง ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลได้ทรงพระราชทานเส้นไหมให้แก่ชาวบ้านโพนเพื่อทอผ้า แพรวาถวาย และโปรดรับงานทอผ้าแพรวาของชาวผู้ไทย อำเภอคำม่วงเข้าไว้ในโครงการศิลปาชีพในพระบรมราชินูปถัมภ์และทรงโปรดให้มี การพัฒนาการทอผ้าไหมแพรวา จนทำให้ผ้าแพรวาเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป
รายละเอียดเพิ่มเติมได้ดังนี้http://nornkaw.blogspot.com/p/blog-page_8959.html