หน่วยที่3

11.ประเทศเกาหลี
เครื่องแต่งกายประจำชาติเกาหลี
เครื่องแต่งกายของชาวเกาหลีใต้ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีชื่อเรียกว่า ?ฮันบก (??)? ซึ่งหากแยกคำ ?ฮัน? จะหมายถึง ชาวฮั่นหรือชาวเกาหลี และ ?บก? หมายถึง ชุด ความหมายรวมจึงเป็น ?ชุดของชาวเกาหลี? นั่นเองความงามและความอ่อนช้อยของวัฒนธรรมเกาหลี มักถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทาง ภาพถ่ายของสุภาพสตรีในเครื่องแต่งกายฮันบกนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ชุด ฮันบกจะเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของประเทศเกาหลี

               เครื่องแต่งกายทั้งของผู้หญิงและผู้ชาย จะมีลักษณะหลวมเพื่อความสะดวกสบาย ในการเคลื่อนไหว และเสื้อผ้าจะใช้ผ้าผูกแทนกระดุมหรือตะขอ โดยส่วนประกอบของชุดฮันบก มีดังนี้   ชุดผู้หญิง ชุดผู้ชาย

แพนที = กระโปรงชั้นใน

ซ็อกชีมา = แถบผ้าขนาดใหญ่ ใช้มัดทรวงอกแทนเสื้อยกทรง

ชีมา = กระโปรงชั้นนอก ยาวคลุมเท้า

จอโกรี = เสื้อนอกแขนยาว



ปันซือ / แพนที = กางเกงชั้นใน

พาจี = กางเกงขายาวชั้นนอก รวบปลายขาด้วย แทมิน

แทมิน = แถบผ้าใช้มัดขากางเกง

บันโซเม = เสื้อรัดรูปแขนสั้นใส่ข้างใน

จอโกรี = เสื้อนอกแขนยาวไม่มีปก ไม่มีกระเป๋า




                การผลิตชุดฮันบก มีประเภทเนื้อผ้าที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับโอกาสและวัยของ ผู้สวมใส่ โดยเด็กผู้หญิงหรือหญิงสาว (ที่ยังไม่แต่งงาน) จะสวมเสื้อสีเหลือง กระโปรงสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นเสื้อสีเขียว กระโปรงสีแดงเมื่อแต่งงานแล้ว นอกจากนี้ ชาวเกาหลียังคำนึงถึงความเหมาะสมของเนื้อผ้ากับสภาพอากาศประเทศของตนอีกด้วย โดยในฤดูหนาวจะใช้ผ้าฝ้าย

และสวมกางเกงขายาวที่มีสายรัดข้อเท้า ช่วยในการเก็บความร้อนของร่างกาย  ส่วนในฤดูร้อนจะใช้ผ้าป่านลงแป้งแข็ง ซึ่งช่วยในการดูดซับและแผ่ระบายความร้อนในร่างกายได้ดี

               ในปัจจุบันการสวมชุดประจำชาติฮันบก จะใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษต่างๆเท่านั้น เช่น งานมงคลสมรส, ซอลนัล (วันขึ้นปีใหม่ของเกาหลี) หรือวันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้า) แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้สูงอายุก็ยังคงสวมใส่ชุดฮันบกกันอยู่ 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
www.tourtravelcenter.com › ... › ทวีปเอเชีย แอนตาร์กติก


12.ประเทศจีน


กี่เพ้าหรือฉีเผา ตามสำเนียงจีนกลางนี้ มีต้นกำเนิดในสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911) ซึ่งปกครองแบบ 8 แว่นแคว้นหรือปาฉี โดยผู้ปกครองชาวแมนจู คำว่า ฉีในปาฉีและคำว่า เผานั้นหมายถึงเสื้อผ้าชุดยาวตลอดลำตัว จึงเป็นที่มาของ ฉีเผานั่นเอง โดยได้รับความนิยมสูงสุดในรัชสมัย คังซีและ หยงเจิ้ง’ (ค.ศ.1662-1736) ยุครุ่งเรืองแห่งราชวงศ์ชิง

            ซึ่งต่างจากสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644) ยุคก่อนหน้านั้น ที่แฟชั่นของหญิงชาวฮั่นซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของแผ่นดินจีน มักแยกเสื้อกับกระโปรงออกจากกัน อย่างไรก็ตาม ในยุคกลางราชวงศ์ชิง ชุดของสาวแมนจูกับสาวฮั่น ต่างก็เริ่มเลียนแบบซึ่งกันและกัน

           หลังปี ค.ศ.1840 วัฒนธรรมตะวันตกได้ค่อยๆ จู่โจมเข้าสู่แดนมังกรพร้อมกับยุคล่าอาณานิคม เมืองชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะเมืองสำคัญอย่าง เซี่ยงไฮ้ซึ่งมีชาวตะวันตกเข้าอยู่อาศัยปะปนกับชาวจีน จึงได้รับอิทธิพลตะวันตกก่อนพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ ไม่เว้นแม้แต่แฟชั่นการแต่งกายแบบฝรั่งที่ค่อยๆ แทรกซึม และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

          รูปแบบของชุดกี่เพ้าที่เราเห็นกันในปัจจุบัน จึงมีวิวัฒนาการจากชุดสตรีชาวแมนจู ที่ถูกสตรีชาวฮั่นนำไปประยุกต์ดัดแปลง ผสมผสานการดูดซับเอาวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายที่เน้นส่วนโค้งเว้าเข้ารูปแบบตะวันตก โดยจะมีลักษณะของแขน ปก ชาย การผ่าข้าง และความสั้นยาวเปลี่ยนไปตามความนิยมในแต่ละยุคสมัย กี่เพ้าหรือฉีเผา ตามสำเนียงจีนกลางนี้ มีต้นกำเนิดในสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911) ซึ่งปกครองแบบ 8 แว่นแคว้นหรือปาฉี โดยผู้ปกครองชาวแมนจู คำว่า ฉีในปาฉีและคำว่า เผานั้นหมายถึงเสื้อผ้าชุดยาวตลอดลำตัว จึงเป็นที่มาของ ฉีเผานั่นเอง โดยได้รับความนิยมสูงสุดในรัชสมัย คังซีและ หยงเจิ้ง’ (ค.ศ.1662-1736) ยุครุ่งเรืองแห่งราชวงศ์ชิง

          ซึ่งต่างจากสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644) ยุคก่อนหน้านั้น ที่แฟชั่นของหญิงชาวฮั่นซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของแผ่นดินจีน มักแยกเสื้อกับกระโปรงออกจากกัน อย่างไรก็ตาม ในยุคกลางราชวงศ์ชิง ชุดของสาวแมนจูกับสาวฮั่น ต่างก็เริ่มเลียนแบบซึ่งกันและกัน

          หลังปี ค.ศ.1840 วัฒนธรรมตะวันตกได้ค่อยๆ จู่โจมเข้าสู่แดนมังกรพร้อมกับยุคล่าอาณานิคม เมืองชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะเมืองสำคัญอย่าง เซี่ยงไฮ้ซึ่งมีชาวตะวันตกเข้าอยู่อาศัยปะปนกับชาวจีน จึงได้รับอิทธิพลตะวันตกก่อนพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ ไม่เว้นแม้แต่แฟชั่นการแต่งกายแบบฝรั่งที่ค่อยๆ แทรกซึม และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

          รูปแบบของชุดกี่เพ้าที่เราเห็นกันในปัจจุบัน จึงมีวิวัฒนาการจากชุดสตรีชาวแมนจู ที่ถูกสตรีชาวฮั่นนำไปประยุกต์ดัดแปลง ผสมผสานการดูดซับเอาวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายที่เน้นส่วนโค้งเว้าเข้ารูปแบบตะวันตก โดยจะมีลักษณะของแขน ปก ชาย การผ่าข้าง และความสั้นยาวเปลี่ยนไปตามความนิยมในแต่ละยุคสมัย



13.ประเทศมาเลเซีย


          ผ้าซิ่น หรือ ซิ่น เป็นผ้านุ่งของผู้หญิง มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทั้งขนาด การนุ่ง และลวดลายบนผืนผ้า

          ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณ การทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่างๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง
          ผ้าซิ่นของไทยมักจะแบ่งได้เป็นสองลักษณะ อย่างแรกคือ ผ้าซิ่นสำหรับใช้ทั่วไป มักจะไม่มีลวดลาย ทอด้วยผ้าฝ้าย หรือด้ายโรงงาน (ในสมัยหลัง) อาจใส่ลวดลายบ้างเล็กๆ น้อยๆ ในเนื้อผ้า อีกอย่างหนึ่ง คือผ้าซิ่นสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ มักจะทอด้วยความประณีตเป็นพิเศษ มีการใส่ลวดลาย สีสันงดงาม และใช้เวลาทอนานนับแรมเดือน
          ขนาดและลักษณะของผ้าซิ่นนั้น ขึ้นกับฝีมือ รสนิยม ขนบการทอในแต่ละท้องถิ่น และยังขึ้นกับขนาดของกี่ทอด้วย การทอผ้าด้วยกี่หน้าแคบ จะได้ผ้าที่แคบ ผ้าซิ่นสำหรับใช้จริงจึงต้องนำมาต่อเป็นผืนให้กว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม ผ้าซิ่นในปัจจุบันจะทอด้วยกี่หน้ากว้าง ไม่ต้องต่อผืนอย่างในสมัยโบราณอีกต่อไป

14.ประเทศพม่า

พม่า เป็นชาติที่ไทยเรารู้จักกันมานาน ปัจจุบันพม่ามีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยจึงเรียกว่า สหภาพพม่าพม่ามีอาณาเขตใกล้เคียงกับไทย และสามารถติดต่อกันได้ทัง้ ทางบก นำ และอากาศ สหภาพพม่ามีประชากรเป็นชนเชือ้ ชาติต่าง ๆ หลายเผ่าและเคยตกเป็นเมืองขึน้ ของอังกฤษ แต่วัฒนธรรมทางด้านศิลปะ ศาสนา และเครื่องแต่งกายก็ยังมิได้เปลี่ยนแปลงไป

การแต่งกายเครื่องแต่งกาย  ชาวพม่าทัง้ หญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง ที่เรียกว่า ลองยี” (Longeje)ซึ่งมีทัง้ ผ้าฝ้ ายและไหมที่มีสีสด ของผู้หญิงจะมีลายเชิงด้านล่างและมีลวดลายเล็ก ๆ กระจายทั่วผืนผ้า ลวดลายของแต่ละท้องถิ่นจะต่างกัน ผ้าที่ทอมาจากเมืองอมรปุระเป็นลวดลายดอกไม้เครือไม้ หรือเป็นดอกเป็นลายตามขวาง ไม่นิยมใช้เข็มขัด สวมเสือ้ ตัวสัน้ คอกลม ผ่าอกติดกระดุม5 เม็ด แขนกระบอกยาวจรดข้อมือ บางครัง้ เป็นแขนสัน้ เลยไหล่ลงมาเล็กน้อย ผ้าตัดเสือ้ นิยมใช้ผ้าเนือ้ บาง สีสด เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าป่ าน หรือผ้าไนลอน สวมรองเท้าคีบรองเท้าแตะ ทัง้ หญิงชาย แต่ของหญิงจะเป็นสี มีลวดลายเป็นดอกดวง ปักด้วยลูกปัด หรือดิน้ เงินดิน้ ทอง สะพายย่ามซึ่งเป็นผ้าไหมสีสวยสดทอมาจากรัฐฉานผม โดยทั่วไปไว้ผมยาวเกล้าสูง บางทีก็ปล่อยชายห้อยลงมาไว้ทางซ้ายบ้างขวางบ้างมีดอกไม้แซมผมเครื่องประดับ นิยมหิน และพลอยที่มีค่าเช่น ทับทิม นิล และหยก





15.ประเทศลาว



           เป็นประเทศที่อยู่ชิดชายแดนไทยทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือทางจังหวัดหนองคายข้ามแม่น้ำโขงไปอีกฟากหนึ่งก็จะถึงเมืองเวียงจันทร์ นอกจากชนชาติลาวซึ่งบางครัง้ เรียกว่าลัวะหรือละว้า ยังมีชนเผ่าต่าง ๆ อีก

           การทอผ้าของกลุ่มชาวไท-ลาว ใช้เทคนิคการทอ 6 วิธี ได้แก่
- มัดหมี่ หรือ IKAI (อีขัด)
- จก หรือ เทคนิค การเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้าผ้า
- ชิด หรือเทคนิคการเพิ่มด้วยเส้นพุ่งพิเศษติดต่อกันตลอดหน้าผ้า
- เหยียบเกาะ หรือเทคนิคการทอแบบใช้เส้นด้ายหลายสีเกี่ยวหรือผูกเป็นห่วง (เป็นเทคนิค

- ตามุก หรือเทคนิคการเพิ่มด้ายเส้นยืนพิเศษ

- หมากไม หรือเทคนิคการปั่นด้ายเส้นพุ่ง 2 สีเข้าด้วยกัน

ผ้าทอมีบทบาทสำคัญในชีวิตครอบครัวของชาวไท-ลาว ทุกวันนี้พิธีแต่งงานแบบดั้ง เดิมของ

คนไท-ลาวยังคงใช้เครื่องแต่งกายที่งดงาม ประณีต ชุดเจ้าสาวทอด้วยไหมเส้นละเอียด สอดแทรกด้วยเส้นเงินเส้นทอง ผ้าเบี่ยง ซิ่นและตีนซิ่น จะมีสีและลวดลายรับกัน เจ้าบ่าวนุ่งผ้านุ่งหรือผ้าเตี่ยวทอด้วยไหมละเอียดสีพื้น อาจะใช้เทคนิคการทอแบบ หมากไมคือการปั่นเส้นใย สวมเสื้อแบบฝรั่ง มีผ้าพาดบ่าเพื่อเข้าพิธีสู่ขวัญ

           การแต่งกาย

ผู้หญิง นุ่ง Patoi (มีลักษณะคล้ายผ้านุ่งของไทย) นิยมทำเป็นลายทาง ๆ เชิงผ้าเป็นสีแดงแก่ หรือน้ำ ตาลเข้ม ถ้าผ้านุ่งเป็นไหม เชิงก็จะเป็นไหมด้วย มักจะทอทองและเงินแทรกเข้าไปไว้ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้ผู้ชาย นุ่ง Patoi เป็นการนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อ ชั้น นอก กระดุมเจ็ดเม็ดการแต่งกายของชาวลาว

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://board.postjung.com/566847.html