หน่วยที่8





36.ไต้หวัน
ไต้หวันเป็นภาษาจีน เดิมชื่อ ฟอร์โมซา เป็นภาษาโปตุเกส แต่ก่อนไต้หวันอยู่ในความ ปกครองของจีน เริ่มมีชาวจีนจากกวางตุ้ง และฟูเรียน อพยพเข้ามาอยู่ตามบริเวณฝั่ง ต่อมาก็มี ชาวตะวันตกเข้ามา เช่น ชาวโปตุเกส ดัทช์ สเปน ต่อมาชาวดัทช์กับชาวสเปนเกิดสงครามแย่งชิง ดินแดนกัน ชาวสเปนแพ้จึงยกทัพหนีไป ชาวดัทช์ หรือฮอลันดาก็ยึดครองเกาะไต้หวัน ประมาณ 38 ปี ต่อมาประเทศจีนเกิดสู้รบกันระหว่างราชวงค์หมิงและราชวงค์แมนจู กษัตริย์ราชวงค์หมิง กลัวราชวงค์แมนจูจะยึดแผ่นดินจีน จึงนึกถึงเกาะไต้หวัน จึงส่งกองทัพไปยึดเกาะไต้หวันคืนจาก ชาวดัทช์ได้ ต่อมาญี่ปุ่นได้ยึดเกาะไต้หวันได้อีก เนื่องจากประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเกาะ ไต้หวันมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่ชาวไต้หวันจึงรับเอาวัฒนธรรมจากชาวจีนและญี่ปุ่นบ้าง และเจ้า ของเดิมซึ่งมีทั้งชาวเล และชนเผ่าเกาซาน ซึ่งมีเชื้อสายพวกฮั่นเก่า มีการสักบนใบหน้าบางเผ่าก็ แต่งกายประดับประดางดงาม นิยมแบบอย่างชาวจีน ส่วนใหญ่สตรี สวมชุดกี่เพ้า คือ สวมเสื้อป้า ยอก คอตั้งและกระโปรงจะผ่ามาเหนือเข่าทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันจะแต่งกายตามชุดสากลนิยมแล้วเพื่อ ความสะดวก




 37.ประเทศเนปาล


ประเทศเนปาล มีความสัมพันธ์กับธิเบต และอินเดียมานานแล้ว ฉะนั้น การแต่งกายของ ชาวเนปาลจึงได้รับวัฒนธรรมบางส่วนมาจากอินเดีย และบางส่วนมาจากจีน ประกอบด้วยภูมิอากาศ ของเนปาลจะหนาว เครื่องแต่งกายจึงมีหลายชิ้น

          การแต่งกายของสตรี นุ่งกระโปรงยาวคร่อมเท้า ห่มสาหรี่ เครื่องประดับงดงามมีสีสัน ใน ฤดูหนาวจะใส่เสื้อผ้าขนสัตว์ซึ่งทอเอง ตัวยาวถึงข้อเท้า มีผ้าลักษณะคล้ายผ้ากันเปื้อนสีสวย 2 ชิ้น คาดข้างหน้า และข้างหลัง

          ผู้ชาย นุ่งกางเกงขายาว สวมเสื้อตัวยาว แขนยาว บางคนสวมเสื้อกัก สีต่าง ๆ โพกผ้า เหมือนชาวอินเดีย


สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
dek-d.com/board/view.php?id=1890568
38.เวียดนาม
ตามข้อตกลงของการประชุมการสงบศึกษาในอินโดจีนที่กรุงเจนิวา เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้แบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.            เวียดนามเหนือ อยู่ที่เมืองเว้ ปกครองระบบคอมมูนิสต์
2.            เวียดนามใต้ มีเมืองไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวง ปกครองระบบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดี เป็นประมุข


          ชาวเมืองไซ่ง่อนได้รับประเพณีต่าง ๆ มาจากแต่ครั้งฝรั่งเศสปกครอง เช่น การหยุดพักนอน กลางวันในวันทำงาน การก้มศีรษะและโค้งตัวเวลาพบปะกันจับมือกัน ที่เหมือนไทยคือ ยังคง รับประทานหมากให้ฟันดำ แต่ปัจจุบันเลิกแล้ว

การแต่งกาย

          ผู้หญิง นุ่งกางเกงแพรยาว สวมเสื้อแขนยาว คอตั้งสูง ตัวเสื้อยาวลงมาจรดข้อเท้า ผ่า 2 ข้าง สูงแค่เอว พวกทำงานหนักจะสวมเสื้อสั้น มีกระเป๋า 2 ใบ แขนจีบยาว บางแห่งทางเหนือสวมกระโปรงยาวถึงข้อเท้า
 ผม ยาวเกล้ามวย สวมงอบสานด้วยใบลานทรงรูปฝาชี หรือใช้ผ้าสามเหลี่ยมคลุมศีรษะ ดึงชาย 2 ข้างมาผูกใต้คาง ถ้าเป็นทางเหนือแถวฮานอย ใช้ผ้าดำแถบยาวหุ้มผมซึ่งถักเปียไว้ให้มิด แล้วโอบพันศีรษะ ปัจจุบันนิยมตัดผมสั้น และดัดผมมากขึ้น สวมรองเท้าเกียะส้นสูง พ่นสีต่าง ๆ รองเท้าสตรีส้นรองด้วยพื้น ยาง คาดหลังด้วยหนังหรือพลาสติกสีต่าง ๆ
ชาย แต่งกายคล้ายหญิง บางครั้งสวมเสื้อกุยเฮง สวมหมวกสีดำเย็บด้วยผ้า ไม่มีปีก ปัจจุบันแต่งสากลกันมากแล้ว

          ในเวียดนามใต้มีชาวเขาเผ่าหนึ่งเรียกว่า พวกม้อย จะนุ่งผ้าสั้น ๆ ปกปิดร่างกายแต่เฉพาะ ท่อนล่างคล้ายนุ่งใบไม้ ปัจจุบันหญิงสวมเสื้อ นิยมเจาะหูสอดไม้ซึ่งเหลาแหลม ๆ สวมกำไลคอ
          จากประวัติความเป็นมาจะเห็นว่าชาวเวียดนามมีการแต่งกายผสมผสานกันมีทั้งไทยมุง หรือ อ้ายลาวระยะแรก ปนของจีนบ้าง เช่น ลักษณะของเสื้อที่ป้ายซ้อนกันบริเวณอก คอปิด แขน ยาว แต่แตกต่างจากไทยและจีนตรงที่การใช้ผ้า ถึงแม้ว่าจะใส่กางเกงแล้ว ยังนิยมสวมเสื้อผ้าบาง ที่เปิดจนถึงเอวทั้ง 2 ข้าง ให้เห็นรูปทรงและสัดส่วนที่งดงาม ชาวเวียดนาม ได้ชื่อว่า เป็นชาติมี ผิวพรรณงามที่สุดในโลกอีกด้วย

          ชนเผ่าไทในเวียดนามจะมีการทอผ้าออกมางดงามมาก ซึ่งจะมีลวดลายบนผืนผ้าทอที่ แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละลายนั้น มีความหมายและมีเทคนิคการทอที่แตกต่างกันอย่าง เช่น ลาย ดาวแปดแฉก จะเป็นลายดาวแปดแฉกตรงกลางของผ้า หรือในผ้าเปียว (ผ้าโพกศีรษะ) และยังมี ลายเส้นจุด (ลายคลื่น) ลายฟันเลื่อย (ลายหยักหงอนไก่) ลายขอ (ลายกูด) ลายเหรียญ (ลายจำ หลอด) ลายรูปหัวใจ (ลายหมากจุ้ม) เป็นต้น ลวดลายต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะปรากฏอยู่บนผืน ผ้าแล้วยังปรากฏในเครื่องปั้นดินเผา และกลองสำริดด้วย



39.อินโดนีเซีย

          อินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิค รวมเกาะใหญ่น้อยราว 3,000 เกาะ ที่สำคัญคือ สุมาตรา ชวา บาลี ชุลาเวสี (เซลีบิส) กาลมันตัน เวสต์อิเรียน เมืองหลวงคือจาร์กาตา อยู่บนเกาะชวา
การทอผ้าแบบดั้งเดิมของอินโดนีเซีย
          อินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะที่อยู่ในเส้นทางการค้าขายติดต่อกับอินเดีย จีน และยุโรป มานาน กว่าร้อยปี ซึ่งความสัมพันธ์นีมี้อิทธิพลต่อวัฒนธรรม ทักษะพื้น บ้านและวัตถุดิบในการผลิต ผ้า ทอของอินโดนีเซียซึ่งผลิตทั้งผ้าฝ้ายพื้น ๆ ผ้าฝ้ายที่วิจิตร ผ้าทอผสมเส้นใยไหม เส้นทองและเส้น เงิน มีชุดแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำถิ่น

          ผ้าทอโบราณของอินโดนีเซียมีหลายชนิด ได้แก่ ผ้ายก (Songket) ผ้ามัดหมี่ มัดหมี่เส้นยืน มัดหมี่เส้นพุ่ง และมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน
         Songket หมายถึง ยกดิ้น เงินดิ้น ทองซึ่งผลิตในพาเลมบังมินังคาบัว และสมารินดา


          ชาวอินโดนีเซียใช้ผ้าทอกันมากในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าโสร่ง (ผ้านุ่งผู้หญิง) ผ้าคลุมไหล่ ผ้าสำหรับหุ้มห่อและผูกเด็กเข้ากับตัว ผ้าคลุมผม ผ้ารัดเอว ถุงย่าม
·         ผ้าเพเลไพ (Pelepai) หรือผ้าลวดลายเรือจากกลัมปุง ใช้แขวน ประดับ หรือวางตกแต่ง ในงานแต่งงาน และพิธีขลิบปลายองคชาติ
·         ผ้าบัว (Pua) จากกาลิมันตัน ใช้แทนผนังในกระท่อมไม้ในงานและพิธีกรรม ซิโดมัคติ (Sidomukti) เป็นผ้ามัดหมี่ ใช้ในงานพิธีแต่งงานเท่านั้น
·         ผ้ากริงซิง (Gringsing) ในบาหลี เป็นผ้ามัดหมี่ทั้งเส้นด้ายยืนและเส้นพุ่งใช้ในพิธีแสดง การย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และหนุ่มสาว
·         ผ้าเคนทัมพัน (Kain tampan) เป็นผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นผ้าที่ใช้แลกเปลี่ยนกันระหว่าง ญาติที่เกี่ยวข้องกันเพราะการแต่งงาน

          ชาวอินโดนีเซีย แต่งกายโดยการนุ่งโสร่งปาเต๊ะ มาจากมาเลเซีย มีการทำโสร่งปาเต๊ะ หรือบาติก และเครื่องหนังที่ขึ้น ชื่อมาก 
ผู้หญิง สวมเสื้อแขนยาวพอดี คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปเล็กน้อย ยาวปิดสะโพก เข้ากับ โสร่งที่เป็นลวดลาย ใช้สีสันกันเป็นทางบ้างดอกบ้าง ใช้ผ้ายาว ๆ คล้องคอเช่นเดียวกับชาวมาเลเซีย ต่างกันที่คอเสื้อ ชาวมาเลเซียจะเป็นคอยู และเสื้อยาว

ผู้ชาย แต่งชุดสากล ผูกไทด์ลายผ้าปาเต๊ะ สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ 

การแต่งกายของชาวเกาะมีลักษณะต่าง ๆ กัน คือ 
การแต่งกายประจำชาติของชาวอินโดนีเซีย จะประกอบด้วย ผ้านุ่งพันรอบกายแน่น เรียกว่า กาอิน และเสื้อฟิตแขนยาว เรียกว่า กาบายะ วิธีการนุ่งผ้า และสีของเสื้อจะบอกได้ว่ามาจากส่วนใด ของเกาะ ดังนี้
1.    อัตเจ (สุมาตราเหนือ) เป็นพิธีการ ใช้เสื้อสีแดง กางเกงยาวสีดำ มีโสร่งนุ่งทับอีกทีหนึ่ง รัดเข็มขัด
2.    ตาปานะลี (สุมาตรากลาง) สวมเสื้อแขนยาว บายุกูรุง
3.    มินังกาโน (สุมาตราตะวันตก) สวมเสื้อบางยุกูรุง แขนยาว นุ่งโสร่ง มีสไบเฉียง ใช้ผ้า โพกศีรษะคล้ายรูปกระบือ
4.    ปาเล็มปัง (สุมาตราใต้) เหมือนบายุกูรุง
5. ปันยาร์ (กาลิมันตัน) ในพิธีต่าง ๆ ผ้านุ่งสีแดง เสื้อแดงแขนยาว เสื้อ อยู่ในโสร่ง มี เครื่องประดับเพชร นิล จินดา
6. เมอนาโด (ซูลาเวลีเหนือ) ส่วนมากนับถือคริสต์ ต้องไปโบสถ์เสมอ จึงมักสวมเสื้อสีขาว ปักดอกที่ชายเสื้อ
7.   มากาซาร์ (ซูลาเวลีใต้) เรียกชุดว่า มายุโบโตะสาวอินโดนีเซียนิยมกันมาก วัยรุ่น นิยมสีชมพู และสีแดง ผู้ใหญ่จะใช้สีเขียวมีแถบทอง
8.    อัมบอน (มาลูกุ) เหมือนชุดสุมาตร แต่สีขาว
9. ติมอร์ ตามประเพณีต้องสวมโสร่ง ห่มสไบเฉียง มีลายเส้นสีทอง และเงิน
10.    บาหลี สวมโสร่ง มีเครื่องประดับศีรษะเป็นคอกลั่นทม
11.    อีเรียนชยา แต่งกายด้วยสีเหลือง ผ้านุ่งสีเขียว มีขนนกบนศีรษะ


40.การแต่งกายของไทย



ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นของตนเองมาเป็นระยะเวลายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะไทย มารยาทไทย ภาษาไทย อาหารไทย และชุดประจำชาติไทย
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีคุณค่า มีความงดงามบ่งบอกถึงเอกลักษณ์แห่งความเป็น "ไทย" ที่นำความภาคภูมิใจมาสู่คนในชาติ 

           การแต่งกายของไทยโดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ซึ่งมีอายุยาวนานมากกว่า 200 ปีนั้น ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ

นับตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง ยุคเริ่มการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ ยุค "มาลานำไทย" และ จนปัจจุบัน "ยุคแห่งเทคโนโลยีข่าวสาร" 

            แต่ละยุคสมัยล้วนมีรูปแบบการแต่งกายที่เป็นของตนเองซึ่งไม่อาจสรุปได้ว่า แบบใดยุคใดจะดีกว่า หรือ ดีที่สุด เพราะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ล้วนต้องมีการปรับเปลี่ยนบูรณาการไปตามสิ่งแวดล้อมของสังคมแล้วแต่สมาชิกของสังคมจะคัดสรรสิ่งที่พอเหมาะพอควรสำหรับตน พอควรแก่โอกาส สถานที่และกาลเทศะ



สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.thaiall.com/thai/thaidressing.htm